วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

JapanChaiyaphruk


ประวัติลีลาศ กีฬาของคนรักการเต้น



การเล่นกีฬาไม่ได้มีเพียงแค่การใช้พละกำลังหนัก ๆ เท่านั้น ความพริ้วไหว อ่อนช้อย ที่เกิดจากการขยับร่างกายให้เข้าจังหวะ ก็ถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่งเช่นกัน
การลีลาศ หรือ การเต้นรำ ถือเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยในแต่ละประเทศก็มีจังหวะการเต้นรำของตัวเอง


ต่อมาได้มีการรวบรวมการเต้นรำจากหลายประเทศ มาวางรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน และแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ Standard และ Latin American ซึ่งมีการใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในทวีปยุโรป และมีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อบริหารจัดการในระดับนานาชาติ ที่สำคัญแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มWD&DSC ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นครูลีลาศและนักลีลาศอาชีพ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ส่วนกลุ่ม IDSF ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักลีลาศสมัครเล่น มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์


ในปี 1991 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจนำโดย นายจรัญ เจียรวนนท์ ได้รวบรวมกลุ่มนักธุรกิจ ก่อตั้งสมาคมลีลาศสมัครเล่นประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศ โดยมีนายสุชัย เพียรพัฒนางกูร เป็นอุปนายกดูแลงานด้านการต่างประเทศ และได้เข้าเป็นสมาชิกของ IDSF ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกอยู่เพียงไม่กี่ประเทศ หลังจากเข้าร่วมประชุมในระดับนานาชาติหลายครั้ง จึงได้ทราบว่า วิธีเดียวที่จะส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศให้สำเร็จ คือ จะต้องผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรองว่าการลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เนื่องจากมีการออกกำลังกายจำนวนมาก ยื่นขอให้โอลิมปิกสากลรับรอง และการจะให้โอลิมปิกสากลรับรอง ก็มีเงื่อนไขมากมาย

        

หลังจากการประชุมระดับนานาชาติแล้ว ทางอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ ก็ได้เริ่มทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลีลาศ รวมทั้งการเดินทางไปในหลายประเทศ ที่เป็นต้นกำเนิดของจังหวะการลีลาศ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า ประเทศบราซิล และประเทศออสเตรีย จึงทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น จากนั้น ก็ได้หาข้อมูลว่าโอลิมปิกสากลมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง หลังจากศึกษารายละเอียดแล้วสรุปได้ว่า มีเงื่อนไขที่สำคัญมากอยู่ ประการคือ 
1.ต้องเป็นสิ่งที่แพร่หลายในหลายทวีปทั่วโลก ไม่ใช่แพร่หลายเฉพาะในทวีปยุโรป
2.ต้องมีองค์กรที่เป็นหนึ่งเดียว สามารถจัดการควบคุมองค์กรสมาชิกได้ทั่วโลก ไม่ใช่มี องค์กร                    และขัดแย้งกันมาก เช่น IDSF และ WD&DSC

         


ทางอุปนายกฝ่ายต่างประเทศ จึงได้มีแนวความคิดว่า การลีลาศแพร่หลายมากเฉพาะในทวีปยุโรปIDSF และ WD&DSC ต่างก็ขัดแย้งกันมาก ซึ่งผิดเงื่อนไขของโอลิมปิกสากล จึงไม่มีทางที่โอลิมปิกสากลจะให้การรับรอง แต่ถ้าสามารถเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น และกระจายไปในทุกทวีปทั่วโลก จะทำให้มีความสามารถในการผลักดันให้โอลิมปิกสากล รับรอง IDSF ได้ง่ายขึ้น

         


ในปี 1994 นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้ติดต่อหารือกับประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน ถึงแนวความคิดที่จะก่อตั้ง สหพันธ์กีฬาลีลาศแห่งทวีปเอเชีย (ADSF) ซึ่งทั้ง ประเทศเห็นด้วย และมีการปรึกษาหารือกันหลายครั้งในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และฝรั่งเศส เพื่อทำความเข้าใจและขอเสียงสนับสนุนจากประเทศสมาชิกทั่วโลก ในการก่อตั้ง ADSF ซึ่งมีอุปสรรคปัญหามากมาย รวมทั้งการแก่งแย่งกันเป็นผู้นำในทวีปเอเชีย และการไม่ต้องการให้มีการแยกตัวไปตั้ง ADSF จึงต้องใช้เวลาถึง 2ปี ในการประชุมหลายประเทศ จนได้รับการอนุมัติจากการประชุม IDSF ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และก่อตั้งสำเร็จในการประชุมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในปี 1996 และเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม ต้องใช้เวลาและเงินจำนวนมาก ทางประเทศสมาชิกจึงสนับสนุนให้ นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร ขึ้นเป็นประธานก่อตั้งของ ADSF

         


หลังจากนั้น จึงได้เริ่มเพิ่มจำนวนสมาชิกอีกหลายสิบประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย และทวีปอื่นๆทั่วโลก ขณะเดียวกัน ADSF ก็เริ่มวางกฎระเบียบการแข่งขัน การฝึกอบรมกรรมการตัดสินให้เป็นมาตรฐาน และติดต่อประสานงาน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกของโอลิมปิกคอมมิตี้เอเชีย (OCA) โดยได้รับความสนับสนุนและร่วมมือเต็มที่จาก MR.WEI JI ZHONG จึงทำให้ ADSF มีความเข้มแข็งมากในทวีปเอเชีย และได้ร่วมมือกับ IDSF ในการผลักดันให้ IOC รับรอง แต่ยังติดปัญหาการคัดค้านจาก WD&DSC นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เสนอในที่ประชุม IDSF ในเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ให้ WD&DSCเข้าเป็น Associate Member หรือสมาชิกร่วม เพื่อให้ IOC รับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งWD&DSC เห็นด้วย

         


นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงได้เริ่มขอเสียงสนับสนุนจาก IOC Member ในทวีปเอเชีย ไปรวมกับเสียงของ IOC Member ในทวีปยุโรป ให้การสนับสนุนลีลาศเป็นกีฬา โดยมี IDSF เป็นองค์กรหลักในการควบคุม ซึ่งประสพความสำเร็จในที่ประชุม IOC เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต้นปี 1998

         

ต่อมาได้รับทราบจาก IOC Member ในทวีปยุโรปว่า ถึงแม้จะได้รับการรับรองลีลาศเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง แต่อย่าหวังจะได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เนื่องจาก IOC มีนโยบายจะลดจำนวนประเภทกีฬา และยังมีกีฬาจำนวนมากที่ขอเข้าแข่งขัน แต่ไม่ได้รับการพิจารณา

         


นายสุชัย เพียรพัฒนางกูร จึงมีความคิดว่า ถ้าวันนี้ไม่มีโอกาส การแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอนาคตคงจะยาก จึงมีความคิดว่า ถ้าสามารถผลักดันให้เข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ หรือกีฬาโอลิมปิกของทวีปเอเชียไว้เป็นพื้นฐานอนาคต ถ้าโอลิมปิกสากล IOC มีนโยบายเพิ่มประเภทกีฬา ก็จะสามารถบรรจุเข้าแข่งขันได้เลย จากนั้น จึงได้เริ่ม Lobby IOC Member ในทวีปเอเชีย ให้สนับสนุนกีฬาลีลาศเข้าสาธิตในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ จนกระทั่งประสพความสำเร็จ OCA อนุมัติให้กีฬาลีลาศบรรจุเข้าเป็นกีฬาสาธิต ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อปลายปี 1998 ที่กรุงเทพฯ
         

สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (IDSF) ได้ประกาศว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่กีฬาลีลาศ ได้รับการบรรจุเข้าแข่งขัน ในการแข่งขันของกลุ่มโอลิมปิกสากล ซึ่งจะเป็นโอกาสให้กีฬาลีลาศ มีโอกาสบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในอนาคต

กีฬาลีลาศ (Ballroom Dance) คือ กีฬาชนิดหนึ่งที่เน้นความสวยงามพริ้วไหวของผู้เต้น ตามจังหวะต่าง ๆ โดยถือกำเนิดขึ้นในหมู่ชนชั้นสูงฝั่งตะวันตก ที่นิยมใช้การเต้นรำเป็นกิจกรรมในงานสังคม โดยการเต้นรำแต่ละจังหวะมีต้นกำเนิดแตกต่างกัน ดังนี้

จังหวะแทงโก้ (Tango)

แต่เดิมคือจังหวะ มิลองก้า (Milonga) ที่ใช้เต้นกันในโรงละครเล็ก ๆ แต่เมื่อชนชั้นสูงจากประเทศบราซิลไปพบเข้า จึงเริ่มมีการนำมาเต้นรำกันมากขึ้นและชื่อของจังหวะมิลองก้า (Milinga) ก็ถูกเปลี่ยนเป็นจังหวะแทงโก้ (Tango) ในที่สุด


จังหวะวอลซ์ (Waltz)


กำเนิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1910 (พ.ศ. 2453) – ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) ที่บอสตันคลับ ในโรงแรมซาวอย ประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกว่า บอสตัน วอลซ์ (Boston Waltz) ก่อนที่จะเสื่อมสลายลงไป และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยถูกดัดแปลงท่าเต้นให้เข้ากับยุคสมัย

จังหวะแซมบ้า (Samba)

มีต้นแบบมาจากแถบแอฟริกา แต่ถูกพัฒนาจนเป็นที่นิยมในประเทศบราซิล ซึ่งจังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับให้เป็นจังหวะที่สามารถเข้าแข่งขันในมหกรรมการแสดงระดับโลกที่นิวยอร์คได้ เมื่อปี ค.ศ.1939 (พ.ศ. 2482) และอีกสิบปีต่อมาจังหวะแซมบ้าก็ถูกยอมรับกันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) – ค.ศ.1949 (พ.ศ. 2492)

จังหวะ (Rumba) 

ถูกนำเข้าไปยังประเทศอเมริกาโดยทาสชาวแอฟริกัน และถูกพัฒนาต่อจนกระทั่งมีตำราการเต้นรำเกิดขึ้น ซึ่งตำราเล่มนั้นเป็นที่แพร่หลายทำให้จังหวะรุมบ้าได้รับการยอมรับในที่สุด

จังหวะแมมโบ้ (Mambo)

เป็นจังหวะที่ตั้งขึ้นจากชื่อของหมอผีในประเทศเฮติ เป็นการผสมผสานการเต้นในแบบ แอฟริกัน-คิวบัน และนิยมเต้นกันในคิวบา โดยเริ่มแพร่หลายเมื่อ เปเรซ ปราโด (Perez Prado) นักดนตรีชาวคิวบา นำเอาจังหวะนี้มาเล่นในประเทศเม็กซิโก และได้รับการบันทึกเป็นแผ่นเสียง ในปี ค.ศ.1951 (พ.ศ. 2494) จนถูกเรียกว่าเป็น ราชาแห่งแมมโบ้ (Mambo King)

จังหวะ ชะ ขะ ช่า (Cha Cha Cha)

ถูกพัฒนามาจากจังหวะแมมโบ้ (Mambo) ซึ่งตั้งขึ้นจากการเลียนเสียงรองเท้ากระทบพื้นขณะเต้นรำ โดยถูกพบเห็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกา และแพร่หลายไปยังแถบยุโรป จากนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างจริงจังในช่วงปี ค.ศ.1956 (พ.ศ. 2499) ก่อนที่จะถูกตัดทอนชื่อลงเป็น ชาช่า (Cha Cha) แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเคยชินกับ ชะ ชะ ช่า (Cha Cha Cha) มากกว่า


ประวัติลีลาศในประเทศไทย

แม้จะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่ากีฬาลีลาศแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โดยมีบันทึกของหม่อมแอนนา ว่าได้ลองแนะนำให้ท่านรู้จักกับการเต้นของชนชั้นสูง แต่ท่านกลับรู้จักการเต้นชนิดนั้นได้ดีอยู่แล้ว จึงคาดว่าน่าจะทรงศึกษาจากตำราต่างประเทศด้วยพระองค์เอง


ต่อมาลีลาศค่อย ๆ เป็นที่นิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และมีการจัดตั้ง สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ ขึ้นใน พ.ศ. 2475 โดยมี หม่อมเจ้าไวทยากร วรวรรณ เป็นประธาน และจัดการแข่งขันเต้นรำขึ้นที่ วังสราญรมย์ โดยมี พลเรือตรี เฉียบ แสงชูโต และ คุณประนอม สุขุม เป็นผู้ชนะในครั้งนั้น และคำว่า "ลีลาศ" ก็ได้ถูกบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2476 และเกิด สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย ขึ้นมาแทน สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ


หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การเต้นลีลาศก็ซบเซาลงไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 จนกระทั่งยื่นจดทะเบียนสมาคมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2491 และใช้ชื่อว่า สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นมา


ความรู้พื้นฐานในการเต้นลีลาศ


ในการฝึกลีลาศ  จะต้องคำนึงถึงทักษะเบื้องต้นของการลีลาศเป็นอันดับแรก  และจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง  ฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ  หากละเลยถึงหลักและทักษะเบื้องต้นจะทำให้ผู้ฝึกลีลาศขาดความก้าวหน้า  และไม่มีศิลปะของการลีลาศอย่างแท้จริง  ทักษะเบื้องต้นของการฝึกลีลาศเพื่อให้เกิดความชำนาญ  มีดังนี้

โครงสร้างของดนตรี ประกอบด้วย
1. จังหวะ  (beat)  หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว  หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง  โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น  จังหวะ 2/4  จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4  
2. เสียงเน้น  (Accent)  หมายถึง  เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ  จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง    โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
3. ห้องเพลง  (bar)  หมายถึง  กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอนปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
4. ความเร็ว (Tempo)  หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด  เช่น  ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง  การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน  ฟังง่าย  ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4  จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น  จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง  การฝึกนับจังหวะจะนับ  – 2  , – 2  , – …………  ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง

กติกาลีลาศ



การจับคู่ลีลาศ  (The  Hold)

 การจับคู่ลีลาศ  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ฝึก ลีลาศจะต้องทราบ  และให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ  เพราะถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องตามแบบแผน  นอกจากจะทำให้ขาดความสง่างามแล้ว  ยังเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการนำ (Lead)  และการตาม (Follow)  เพราะจะทำให้เสียการทรงตัวและการก้าวเท้าของคู่ลีลาศไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน  หรืออาจทำให้เหยียบเท้ากันได้  ดังนั้นการจับคู่ลีลาศที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการลีลาศ  โดยเฉพาะผู้ชายจะต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
                โดยปกติ  ท่าเริ่มต้นในการจับคู่ลีลาศแทบทุกจังหวะ  จะจับคู่แบบบอลรูมปิด (Closed  ballroom)  ได้แก่  จังหวะวอลซ์  (Waltz)  จังหวะควิกสเต็ป  (Quick  Step)  จังหวะชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)  และจังหวะบีกิน  (beguine)  แต่เมื่อคู่ลีลาศออกลวดลาย (Figure)  ต่างๆแล้ว  การจับคู่ลีลาศจะเปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นตามลวดลายของจังหวะนั้นๆ  มีเพียงบางจังหวะที่จับคู่ลีลาศตอนเริ่มต้นแตกต่างออกไป  ได้แก่   จังหวะแทงโก้  (Tango)  จังหวะไจฟว์ (Jive) และจังหวะร็อคแอนด์โรล  (Rock  and  Roll)  เป็นต้น



ผู้แข่งขัน

  • เป็นคู่เต้น ชาย 1 คน หญิง 1 คน 


การให้คะแนน


  • การเต้นให้ลงจังหวะกับดนตรี และ ดูพื้นฐานของการเต้นว่าถูกต้องหรือไม่
  • ดูการทรงตัวของลำตัว มีความสัมพันธกับคู่เต้น
  • ดูการเคลื่อนไหวให้พริ้วไหว สวยงาม
  • การออกแบบการแสดง การเลือกดนตรีประกอบ และการเปลี่ยนท่าในช่วงต่อจังหวะ
  • การใช้เท้าในการเคลื่อนไหว จะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์
  • การใช้พื้นที่ฟลอร์ในการเต้น จะต้องหลบหลีกคู่เต้นอื่น และไม่ไปรบกวนการเต้นของผู้อื่นด้วย
  • ซึ่งส่วนประกอบต่าง ๆ ในการให้คะแนน มีสัดส่วนเท่ากัน

มารยาทการเต้นลีลาศ

  • แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะซึ่งจะเป็นการสร้างความสนใจในบุคลิกภาพของตนเอง
  • อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว
  • ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือกับคู่ลีลาศของตน
  • มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจในการเต้นลีลาศ
  • สุภาพบุรุษต้องให้เกียติสุภาพสตรี และบุคคลอื่นในทุก สถาณการณ์ และจะต้องไปรับ
  •   สุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
  • ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุในบัตรเชิญ
  • ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของคบเคี้ยวใดๆ ในขณะลีลาศ
  • ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเอง หรือคู่ลีลาศ
  • ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเมามากไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
  • ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกั


เมื่อลีลาศจบ



  • ฝ่ายชายควรพาฝ่ายหญิงไปยังที่นั่งให้เรียบร้อย พร้อมกล่าวคำขอบคุณฝ่ายหญิง
  • การลงจากฟลอร์นั้น ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการพาฝ่ายหญิงขึ้นฟลอร์

 ประโยชน์ของการเต้นลีลาส 

       จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้
1.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
2.
  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน
3.
  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.
  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
5.
  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)
6.
  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
7.
  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น
8.
  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม
9.
  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง
  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม
  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย
     



ตัวอย่างการเต้นลีลาศประเภท Tango 



อ้างอิงจาก

http://www.learners.in.th/blogs/posts/246682
http://609mwit.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
http://www.oknation.net/blog/health-stnb/2011/01/12/entry-1